วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ

Miss you so much
ยินดีต้อนรับ

ความหมายของนวัตกรรม
       นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ซึ่งสอดคล้องกับความหมายของคำว่า นวัตกรรม ที่รูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว + อตต + กรรม กล่าวคือ นว แปลว่าใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเองและกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อนำคำ นว มาสนธิ กับอัตต จึงเป็น นวัตต และเมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับกรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือการกระทำของตนเองใหม่ นอกจากนี้องค์กรด้านนวัตกรรมและนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า นวัตกรรม ดังนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ   ให้ความหมายว่า นวัตกรรม คือ สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes)  ได้ให้ความหมายของ คำว่านวัตกรรมว่า "เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆมาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว โดยเริ่มมาตั้งแต่การคิดค้น (Invention) พัฒนาการ(Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และเรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)" มอตัน (Morton, J.A.)  ได้ให้นิยามของนวัตกรรมไว้ในหนังสือ Organising for Innovation ว่าหมายถึง การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งได้แก่ การปรับปรุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมาดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่ง และพัฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ  ไมล์ แมทธิว (Miles Matthew B.)  ได้กล่าวถึงนวัตกรรมไว้ในเรื่อง Innovation in Education ว่า นวัตกรรม หมายถึง การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่ การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล กิดานันท์ มลิทอง ได้กล่าวไว้ว่า นวัตกรรมเป็นแนวความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย นอกจากนี้ คำว่านวัตกรรมยังสามารถถูกนิยามในความหมายที่แตกต่างกันออกไปตามบริบทต่างๆ ที่เฉพาะเจาะจงลงไป เช่น นวัตกรรมทางการศึกษา นวัตกรรมทางเทคโนโลยี นวัตกรรมทางการแพทย์  รวมทั้งนวัตกรรมการบริหารจัดการภาครัฐ เป็นต้น

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับนวัตกรรม
       พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 หมวด 4 ว่าด้วยแนวทางการจัดการศึกษา มาตรา 22 ระบุว่า การจัดการศึกษาด้วยยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้จึงเป็นบทบาทสำคัญของผู้เรียนที่จะต้องฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ และการประยุกต์ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทมาทำหน้าที่จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ได้ลงมือปฏิบัติ คิดเป็น ทำเป็น และรักการเรียนรู้ นั่นคือ ผู้สอนจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง
ผู้สอนในยุคปฏิรูปการเรียนรู้ต้องทำหน้าที่อย่างน้อย 3 อย่างในเวลาเดียวกัน คือทำหน้าที่นักวิชาการ นักปฏิบัติ และนักจัดการ เพื่อจัดการเรียนการสอน นำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของการศึกษา คือการให้ผู้เรียนเป็นคนดี คนเก่ง และเป็นคนมีความสุข ดังนั้นสังคมจึงคาดหวังให้ผู้สอนมีคุณสมบัติที่พึงปรารถนาดังต่อไปนี้
1. มีความรอบรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอนอย่างลุ่มลึก
2. ติดตามความก้าวหน้าในเทคนิควิธีสอนตลอดเวลา เพื่อนำเทคนิควิธีสอนใหม่ๆ มาพัฒนาการเรียนการสอนของตน
3. เป็นนักจิตวิทยาการเรียนรู้ รู้จักผู้เรียนเป็นอย่างดี เพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้เรียนรู้ตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพ
4. เป็นนักเทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ใหม่ๆ
5. เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
6. เป็นแบบอย่างในการคิดการทำ เพื่อให้ผู้เรียนซึมซับแบบอย่างที่ดี โดยไม่รู้ตัว


วัตถุประสงค์การนำนวัตกรรมมาใช้
การนำนวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอนมีจุดประสงค์สำคัญ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของการสอน ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่บางครั้งมีการนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาของผู้เรียน
องค์ประกอบของนวัตกรรมการเรียนรู้นวัตกรรมการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ได้แก่1. วัตถุประสงค์ เป็นส่วนที่บอกว่านวัตกรรมนั้นใช้เพื่อพัฒนาอะไร ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้คืออะไร วัตถุประสงค์ที่มีความชัดเจนจะช่วยให้ผู้ที่ต้องการใช้นวัตกรรมนั้น มีข้อมูลสำหรับพิจารณาตัดสินใจ2. แนวคิดพื้นฐาน เป็นส่วนที่ทำให้นวัตกรรมมีความน่าเชื่อถือว่าเมื่อนำไปใช้จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังนั้น ทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดที่นำมาใช้เป็นแนวคิดพื้นฐาน ต้องมีลักษณะที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และให้แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และถ้าทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดเหล่านั้น มีงานวิจัยรองรับผล ก็จะยิ่งทำให้มั่นใจว่าภายหลังการใช้นวัตกรรมนั้นจะได้รับผลตามที่ต้องการ3. โครงสร้างหรือขั้นตอนการใช้ เป็นส่วนที่แสดงภาพรวมของนวัตกรรม ถ้านวัตกรรมเป็นวัตถุ สิ่งของ จะมีโครงสร้างที่แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น ชุดการสอนแผนจุฬา ซึ่งเป็นสื่อประสม
ประกอบด้วย ซองบรรจุเอกสารประจำศูนย์ต่างๆ แต่ละศูนย์มีเนื้อหาแตกต่างกันไป ผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในบัตรคำสั่ง โดยใช้สื่อที่เป็นบัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม บัตรคำถาม และบัตรเฉลย รวมถึงรูปภาพ แผนภูมิ ของจริง หรือสื่ออื่นๆ ชุดการสอนมีส่วนประกอบที่สำคัญ อีกส่วนหนึ่งคือคู่มือครูที่อธิบายขั้นตอนการใช้ชุดการสอนโดยละเอียดส่วนนวัตกรรมที่เป็นวิธีการ หรือกระบวนการก็จะแสดงขั้นตอนการใช้นวัตกรรมเป็นลำดับขั้น เช่น รูปแบบการสอนต่างๆ จะมีคำอธิบายขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตั้งแต่ขั้นเตรียมการ ขั้นผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ และขั้นการจัดการหลังการเรียนรู้
4. การประเมินผล เป็นส่วนที่แสดงความสำเร็จของนวัตกรรม นวัตกรรมจะระบุวิธีวัดผล เครื่องมือที่ใช้วัดผล และวิธีการประเมินผล หากใช้วิธีประเมินผลที่ต่างออกไป อาจจะพบผลของการใช้นวัตกรรมที่ไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของนวัตกรรม

ประเภทของนวัตกรรมการเรียนรู้ 
          นวัตกรรมการเรียนรู้ มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ การแบ่งประเภทของนวัตกรรมการเรียนรู้ในที่นี้จึงแบ่งเป็น 7 ประเภท ได้แก่
1. นวัตกรรมการเรียนรู้ประเภทหลักสูตร
2. นวัตกรรมการเรียนรู้ประเภทระบบการเรียนการสอน 
3.นวัตกรรมการเรียนรู้ประเภททฤษฎีหรือแนวคิด   
นวัตกรรมการเรียนรู้ประเภทสื่อการเรียนรู้
5. นวัตกรรมการเรียนรู้ประเภทการประเมินผล
6. นวัตกรรมการเรียนรู้ประเภทเทคโนโลยีสารสนเทศ
7. นวัตกรรมการเรียนรู้ประเภทการบริหารจัดการศึกษา


ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษามีความสำคัญและมีความจำเป็นที่เด่นชัดในปัจจุบันนี้ คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการศึกษาด้วยเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้
1. ความเจริญอย่างรวดเร็วทางด้านวิชาการต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะระยะหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา วิทยาการใหม่ ๆ และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ได้ถูกค้นคิดประดิษฐ์ขึ้นมาใช้ในสังคมมากมายเป็นทวีคูณ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวทางด้านหลักสูตรการเรียนการสอนของสถานศึกษา และส่งผลเป็นลูกโซ่ต่อไปถึงปัญหาการเรียนการสอน การเลือกโปรแกรมและการทำความเข้าใจกับเนื้อหาสาระใหม่ๆ ของนักเรียน ความรุนแรงและความสลับซับซ้อนของปัญหาเหล่านี้มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณเนื้อหาวิชาการใหม่ ๆ มีมากมายเกินความสามารถของผู้เกี่ยวข้อง จะเลือกบันทึกจดจำและนำเสนอในลักษณะเดิมได้ จึงมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์เข้ามาช่วย เช่น การเสนอข้อมูลทางวิชาการโดยเทปบันทึกเสียง เทปบันทึกภาพ ไมโครฟอร์ม และแผ่นเลเซอร์ การแนะแนวการเรียนโดยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากพัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดังกล่าวมาแล้ว มีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต การปรับตัว และพัฒนาการของนักเรียน การแนะแนวส่วนตัวและสังคมแก่นักเรียน จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสถานการณ์นั้น ๆ จึงจะสามารถให้บริการครอบคลุมถึงปัญหาต่าง ๆ ได้
3. ลักษณะสังคมสารสนเทศหรือสังคมข้อมูลข่าวสาร ซึ่งเป็นผลมาจากพัฒนาการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ทำให้ข่าวสารทุกรูปแบบ คือ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว กราฟฟิก และข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถถ่ายทอดและส่งถึงกันได้อย่างรวดเร็วทุกมุมโลก สังคมในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นสังคมที่ท่วมท้นด้วยกระแสข้อมูลและข่าวสาร 
ข้อมูลและข่าวสารจำนวนมหาศาลจะอยู่ที่ความต้องการของผู้ใช้อย่างง่ายดายมาก ความจำเป็นที่สถานศึกษาจะต้องเป็นแหล่งให้ข้อมูลข่าวสารจะหมดความสำคัญลง การแนะแนวในสถานศึกษาจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากการทำตัวเป็นแหล่งให้ข้อมูลมาเป็นการแนะแหล่งข้อมูล แนะนำการเลือกและการใช้ข้อมูลในการแก้ปัญหาและการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งบทบาทอย่างนี้จะทำให้สำเร็จได้ยาก หากไม่สามารถใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศในปัจจุบัน


ความหมายของเทคโนโลยี
      ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า เทคโนโลยี
 เทคโนโลยี  หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
 สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
 ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน